วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2550

บทที่ 4 ระบบการพิมพ์

1.ระบบการพิมพ์พื้นนูนในปัจจุบันระบบการพิมพ์พื้นนูน มี 2 ระบบ คือ

1.ระบบเลตเตอร์เพรส (letterpress)
ระบบนี้เป็นระบบการพิมพ์ชนิดแม่พิมพ์พื้นนูนแบบเดียวกับชนิดที่ กูเตนเบิร์กเคยใช้ กล่าวคือ ใช้ตัวพิมพ์แต่ละ อักษรที่หล่อด้วยโลหะผสม (alloy) มาจัดเรียงให้เป็นข้อความตามที่ต้องการ แล้วนำไปใช้พิมพ์บน เครื่องพิมพ์ได้โดยตรง
2. ระบบเฟลกโซกราฟฟี (flesography)
ระบบเฟลกโซกราฟฟีเป็นระบบการพิมพ์พื้นนูนชนิดหนึ่ง แต่ต่างจากระบบเลตเตอร์เพรสคือ แม่พิมพ์เป็นแผ่นยาง ม้วนติดโดยรอบกับโมแม่พิมพ์ ไม่เป็นโลหะเหมือนระบบเลตเตอร์เพรส และหมึกที่ใช้เป็นหมึกชนิดใสไม่เหนียวข้น โดยเหตุที่แม่พิมพ์ทำด้วยยางจึงมีน้ำหนักเบา สะดวกในการทำงาน และสามารถพิมพ์ได้เป็นจำนวนมาก ๆ โดยไม่ต้องเปลี่ยนแม่พิมพ์ นิยมใช้ในการพิมพ์สิ่งพิมพ์ประเภท บรรจุภัณฑ์ (packaging) เช่น กล่องกระดาษ ซอง ถุง ส่วนใหญ่เป็นเครื่องพิมพ์ชนิดป้อนเป็นม้วน และสามารถใช้พิมพ์บนวัสดุการพิมพ์ได้เกือบทุกชนิด เช่น กระดาษ พลาสติก แผ่นอะลูมิเนียมบาง ๆ (aluminum foil) ความเร็วในการพิมพ์เหมือนกับเครื่องพิมพ์กระดาษม้วนทั่วไป คือ ประมาณ 30,000 รอบต่อชั่วโมง ไม่นิยมใช้พิมพ์ตัวหนังสือหรือภาพสี่สี เพราะคุณภาพสู้ระบบออฟเซตไม่ได้

2.ระบบการพิมพ์พื้นราบ
ระบบการพิมพ์พื้นราบ (planographic printing) หมายถึง ระบบการพิมพ์ที่ใช้แม่พิมพ์ที่มีลักษณะ เป็นพื้นผิวราบ กล่าวคือ ส่วนที่เป็นภาพและไม่ใช่ภาพอยูในระนาบเดียวกัน คนโดยทั่วไปนิยมเรียกว่า ระบบการพิมพ์ ออฟเซต (offset) จากการที่ส่วนที่เป็นภาพ และไม่ใช่ภาพบนแม่พิมพ์อยู่ในระนาบเดียวกัน ฉะนั้นในขณะพิมพ์เมื่อลงหมึกให้ แม่พิมพ์ แล้วจะต้องหาทางป้องกันไม่ให้ส่วนที่ไม่ใช่ภาพรับหมึก นั่นคือให้เฉพาะส่วนที่เป็นภาพเท่านั้นรับหมึก ซึ่ง ทำได้โดยหลักการดังนี้
ใช้โลหะทำแม่พิมพ์ที่สามารถรับน้ำได้ดี
สารที่ทำเป็นตัวภาพต้องรับหมึกได้ดี และไม่รับน้ำได้ง่าย
เคลือบผิวส่วนที่ไม่ใช่ภาพด้วยน้ำ เพื่อไม่ให้หมึกสามารถจับติดได้

3.ระบบการพิมพ์พื้นลึก
ระบบการพิมพ์พื้นลึก (intaglio printing) หมายถึง ระบบการพิมพ์ที่แม่พิมพ์มีส่วนที่เป็นภาพ เป็นร่องลึกลง ไปจากพื้นผิวของแม่พิมพ์ ระบบการพิมพ์ที่เป็นตัวอย่างของการพิมพ์พื้นลึกคือ ระบบการพิมพ์กราเวียร์ (gravure printing)

4.ระบบการพิมพ์ชิลค์สกรีน
การพิมพ์ในระบบเลตเตอร์เพรส เป็นการพิมพ์ที่แม่พิมพ์มีการสัมผัสกับกระดาษ หรือวัสดุที่ใช้พิมพ์โดยตรง การถ่ายทอดหมึกจากแม่พิมพ์ลงบนกระดาษเกิดขึ้นได้โดยการใช้แรงกดให้สัมผัสกัน ฉะนั้นสิ่งพิมพ์ที่พิมพ์โดยระบบ เลตเตอร์เพรสจะมีสิ่งที่สังเกตเห็นได้ชัดเจน 3 ประการ คือ
มักจะมีรอยดุนนูนด้านหลัง ที่เกิดจากตัวพิมพ์กดลงไปบนกระดาษ
เมื่อใช้กล้องส่องดูตัวพิมพ์จะมีขอบไม่เรียบเพราะหมึกที่จับที่ตัวพิมพ์ถูกกดโดยแรง จึงกระจายออกด้านข้าง
ตัวพิมพ์บางตัวเป็นเส้นขาดไม่ต่อเนื่อง เช่น คำว่า เป็น ฟัน

5.การเลือกใช้ระบบการพิมพ์ที่เหมาะสมกับสิ่งพิมพ์
ระบบเลตเตอร์เพลส
ระบบเฟลกโชกราฟฟี
ระบบออฟเซต
ระบบกราเวียร์
ระบบชิลค์สกรีน

วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2550

บทที่2.ความคิดสร้างสรรค์

บทที่2.ความคิดสร้างสรรค์ 1.ความหมายและความสำคัญคำว่า “ ความคิดสร้างสรรค์ ” อาจจะแยกออกได้เป็น 2 ส่วน ส่วนแรกคือความคิดที่เกิดจากสมองซึ่งมีลักษณะ นามธรรม เช่น ความคิดที่จะประดิษฐ์สินค้าใหม่ ๆ ที่ไม่ซ้ำรูปแบบสินค้าอื่นในตลาด ส่วนที่สอง คือสร้างสรรค์เกิดตามหลัง ความคิดมาหมายถึง การทำสิ่งที่คิดไว้ออกมาให้เห็นปรากฏเป็นรูปร่าง อาจกล่าวได้ว่า การสร้างสรรค์เป็นลักษณะ ของรูปแบบรวมความแล้วจึงอาจสรุปได้ว่า ความคิดสร้างสรรค์คือ ความคิดที่ดัดแปลงจากของเดิมหรือดัดแปลงจาก สิ่งที่มี อยู่แล้ว แล้วนำมา สร้างสรรค์ปฏิบัติแสดงออกมาให้เป็นผลงานที่ดี บรรจุความคิดใหม่ เป็นรูปทรงใหม่หรือมีหน้าที่ใหม่ หรือนำไปใช้ในแง่ใหม่ให้มีประสิทธิภาพสูงกว่าเดิมได้ หรือเป็นการสร้างชิ้นงานขึ้นใหม่ให้ดีกว่าที่มีอยู่เดิมความคิดสร้างสรรค์เป็นบุคลิกนิสัยอย่างหนึ่ง ซึ่งอาจเกิดจากวิธีการเลี้ยงดูในบ้านกระบวนการเรียนรู้ในโรงเรียน การ ใช้ชีวิตในสังคม มีความสำคัญและมีประโยชน์กับคนทุกคน ถ้าพิจารณาในแง่นามธรรม คือ การสร้างสรรค์ทางความคิด ในตัวของมันเอง ก็จะพบว่าคนที่มีความคิดสร้างสรรค์นั้น จะเป็นผู้มีคุณสมบัติที่ดี มีพฤติกรรมที่เป็นไปในทางที่ดี เช่น เป็นผู้ที่เปิดใจกว้างขวางยอมรับฟังความคิดเห็นใหม่ ๆ ไม่ได้นึกว่าตัวเองเป็นฝ่ายถูกเสมอ ไม่เอาตัวเองเป็นจุดศูนย์กลางใน การพิจารณาคนอื่น ชอบเก็บสะสมความรู้ หมั่นค้นคว้าวิจัยสืบสวนหาความจริงในสิ่งต่าง ๆ เป็นคนที่มีเหตุผลและคุณสมบัต ิเหล่านี้ก็จะส่งผลและคุณสมบัต ิเหล่านี้ก็จะส่งผลให้เจ้าของประสบผลสำเร็จในชีวิตนอกจากในด้านนามธรรมแล้ว ในทางรูปแบบ ความคิดสร้างสรรค์ที่ปรากฏเป็นผลงานปฏิบัติอาจพิจารณาได้ใน 2 แง่มุม คือ ความคิดสร้างสรรค์ทางความงาม และความคิดสร้างสรรค์ทางประโยชน์ใช้สอย สำหรับแง่มุมแรก ก็ทำ ประโยชน์ทางด้านจิตใจให้ผู้คนเห็นได้ชื่นชมในงานศิลปะ ที่มีรูปแบบและเนื้อหาที่แปลกใหม่ ส่วนในแง่มุมที่สองเป็น ประโยชน์ใช้สอยได้โดยตรง ทำให้เกิดเป้าหมายในการซื้อขาย 2.ระดับของความคิดสร้างสรรค์ความคิดสร้างสรรค์นี้เป็นที่ยอมรับกันว่ามีความสำคัญ และมีประโยชน์ต่อสังคมมนุษย์ เพราะทำให้โลกนี้มี ความคิดใหม่ ๆ มีของใหม่ของแปลก ของที่ดัดแปลงปรับปรุงให้ดีขึ้น มีประโยชน์ต่อมนุษย์ขึ้นมากกว่าเดิม ดังที่ได้ กล่าวมาแล้ว แต่ตอนต้น ดังนั้นเราจึงควรส่งเสริมฝึกทักษะให้คนมีความคิดสร้างสรรค์กันมาก ๆ โดยเฉพาะ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับวงการการ ออกแบบ การสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นนี้มีกระบวนการเป็นขั้นตอน 4 ขั้นตอน คือ1. ขั้นเตรียมการ เป็นการเปิดตัวเองต่อสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับงานของเขาทั้งหมด เช่น สมมุติว่าเป็นการใช้ ความ คิด สร้างสรรค์ในงานการออกแบบโฆษณา เขาก็จะต้องเปิดตัวเอง ศึกษาเรื่องลูกค้า สินค้าที่จะโฆษณา สื่อที่จะใช้ ผู้ที่เขาคาดว่าจะเป็นผู้ดูโฆษณาของเขา และผลงานการออกแบบของนักออกแบบตลอดจนวิธีทำงาน วิธีแก้ปัญหาของนัก ออกแบบคนอื่น2.ขั้นต่อไปก็เป็นขั้นเพาะความคิด คือ ปล่อยให้จิตใต้สำนึกได้คิดสำรวจทบทวนวัตถุดิบทั้งหลายที่ได้จับมา ประสานย่อยซึมเข้าหากันในขั้นเตรียมการขั้นแรก3. ขั้นที่สาม ก็จะเป็นการค้นหาคำตอบ วิธีการแก้ปัญหาจนมุม บางครั้งคำตอบอาจจะเกิดแจ่มขึ้นมา ในดวงความ คิดเหมือนมีแรงบันดาลใจในระยะเวลาสั้น ๆ ก็ได้ พอจะทำให้หลับตามองเห็นรูปร่างหน้าตาของผล งานตนเองว่าจะออกมา ในรูปใด4. สุดท้ายเป็นขั้นปฏิบัติการลงมือทำให้สำเร็จ โดยพยายามรักษาคุณภาพของแนวคิดของตัวเอง เอาไว้ ให้ได้ ตลอดในขณะที่ลงมือแปลงความคิดจากสมองมาเป็นการปฏิบัติด้วยมือ หมายความว่าในขณะนั้นเขาจะต้องทำ การสื่อสาร สื่อความหมาย ความคิดของเขาออกมาในรูปผลงานให้ปรากฏขั้นตอนการสร้างความคิดสร้างสรรค์นี้มีประโยชน์ ช่วยให้นักออกแบบสามารถแก้ปัญหาเกี่ยวกับงานการออกแบบ ของ เขาได้ ไม่ว่าเขาจะทำงานในระดับยากเพียงใด อย่างไรก็ตามขั้นตอนทั้ง 4 นี้ ก็ต้องอาศัยเวลาพอควร จากขั้นแรกไปจนถึง ขั้นสุดท้าย ดังนั้น หากนักออกแบบเผชิญกับงานที่เร่งด่วน หรือแข่งกับเวลาให้ทันเส้นตาย ขั้นตอนที่ 4 นี้ ก็คงไม่อาจช่วย ให้เกิดแรงบันดาลใจในการทำงานได้เต็มที่นัก นอกเสียจากว่านักออกแบบผู้นั้นจะได้มีการเตรียมตัว ให้พร้อมอยู่เสมอ โดย การสะสมประสบการณ์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องเก็บเอาไว้ในธนาคารความคิดและพร้อมที่จะเบิกออกมา ใช้ได้ตลอดเวลา
3.หลักเกณฑ์การออกแบบ
3.1 สัดส่วน 3.2 ความสมดุล3.3 ความแตกต่าง 3.4 ลีลา3.5 ความมีเอกภาพ 3.6 ความผสมกลมกลืน3.7 การจัดวางรูปร่าง4.การใช้ภาพประกอบ4.1 หลักในการใช้ภาพประกอบ 4.2 การใช้ภาพตัดตก4.3 ขนาดของภาพ 4.4 การบังภาพ4.5 การคัดเลือกภาพ/การจัดเรียงภาพ 4.6 การจัดภาพขนาดเล็กให้รวมเป็นกลุ่ม4.7 การเร้าความสนใจ/ทำให้ภาพมีความต่อเนื่อง 4.8 ทำให้ส่วนสำคัญของภาพเป็นที่น่าสนใจ/ใช้คำอธิบายประกอบภาพ5. การใช้สีในการพิมพ์1. การใช้สีตามวัตถุประสงค์ของการใช้งานเนื่องจากสีที่ใช้ในการพิมพ์มีมากมายหลายสีแทบจะเรียกได้ว่านับไม่ถ้วน การใช้สีอย่างไม่คำนึงถึง ความเหมาะสม นั้นจะทำให้ผู้อ่านเห็นว่าผู้ใช้ไม่มีรสนิยมในการใช้สี และทำให้ความสวยงามของสิ่งพิมพ์นั้นลดลงไป เพื่อให้เป็นแนวทาง ในการเลือกใช้สี จึงกำหนดเกณฑ์ทั่วไปไว้ดังนี้1.1 การใช้สีเป็นสีพื้น ในกรณีนี้เราใช้สีใดสีหนึ่งเป็นสีพื้น โดยพิมพ์ด้วยสกรีนฮาฟโทน จึงต้องมีสีอ่อนกว่า ตัวหนังสือหรือภาพที่จะพิมพ์ทับลงไป สีประเภทนี้จึงต้องเป็นสีอ่อนไม่ฉูดฉาด เพื่อให้สีของภาพที่จะพิมพ์ทับลงไป มีความเด่นมากกว่าสีพื้นจะทำหน้าที่เพิ่มความสวยงามและเพิ่มความเด่นชัดของข้อความเป็นส่วนใหญ่1.2 การใช้สีเพื่อการตบแต่ง ในกรณีนี้จะใช้สีเพื่อเป็นการให้ความเด่นของภาพที่ส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือตบแต่ง ส่วนใดส่วนหนึ่ง เพื่อให้ดูน่าสนใจยิ่งขึ้น เช่น การใช้สีสดใสที่ตัวอักษรบนพื้นที่มีสีตัดกัน หรือการใส่กรอบภาพ บางภาพ ด้วยสีที่ทำให้ภาพนั้นดูเด่นขึ้น แต่การใช้สีในกรณีนี้ต้องระวังว่าสีนั้นต้องเข้ากับลักษณะของสิ่งพิมพ์นั้น ๆ ด้วย1.3 การใช้สีเพื่อเน้นรายละเอียด โดยปกติรายละเอียดของจุดใดจุดหนึ่งบนสิ่งพิมพ์มักมีขนาดเล็กอาจเห็นได้ยาก การใช้สีที่สว่าง สดใส และมองเห็นเด่นชัดจะทำให้มองเห็นรายละเอียดได้ดีขึ้น เช่น การเน้นข้อความที่สำคัญ การเน้น จุดใดจุดหนึ่งในภาพ โดยการให้สีที่ต่างจากสีพื้นได้ทั่วไป1.4 การใช้สีเพื่อการเน้นทั่วไป การที่จะมองเห็นตัวหนังสือหรือภาพบนกระดาษพิมพ์ได้ชัดเจนดีเพียงไรนั้น ย่อม ขึ้นอยู่กับความแตกต่างระหว่างสีหมึกที่พิมพ์และสีของกระดาษพิมพ์ สีที่มีความเข้มมากที่สุด คือ สีดำ เมื่อพิมพ์ลงบน กระดาษและจะเห็นได้ชัดเจนที่สุด สีอื่น ๆ เช่น สีแดง ถึงจะดูสดใสกว่าสีดำแต่ก็ ให้ค่าความแตกต่าง กับกระดาษขาว ได้น้อยกว่าสีดำ ฉะนั้นในกรณีที่ต้องการเน้นอะไรก็ตาม เพื่อให้มองเห็นได้ง่ายขึ้น ก็ควรจะทำ 2 อย่างคือ1.4.1 เลือกพิมพ์สีใดสีหนึ่งที่มีลักษณะเป็นสีที่สดใส และมีความเข้มมาก ๆ หรือ1.4.2 เพิ่มพื้นที่ในการพิมพ์ให้มากขึ้น เช่น ขยายตัวหนังสือให้โตขึ้น หรือ ขยายภาพให้โต ขึ้นแล้วพิมพ์ด้วยสีที่ ต้องการ ทั้งนี้ เพื่อให้ขนาดที่โตขึ้นช่วยเพิ่มความแตกต่างกับพื้นกระดาษจะได้เห็นได้ดีขึ้น 2.ความแตกต่างระหว่างการพิมพ์ภาพสี่สีกับการพิมพ์ที่สองเพิ่มขึ้นโดยปกติการพิมพ์ข้อความหรือเนื้อเรื่องของสิ่งพิมพ์ธรรมดามักจะพิมพ์ด้วยสีใดสีหนึ่งเพียงสีเดียว ต่างบางครั้งหาก ต้องการเน้นหรือเพิ่มความสวยงามก็อาจพิมพ์บางส่วนให้มีสีอีกสีเพิ่มขึ้นเป็นสีที่สองได้ ซึ่งต้องทำแม่พิมพ์ใหม่ และพิมพ์สี ที่สองใหม่ต่อจากการพิมพ์สีแรกภาพพิมพ์ที่เกิดจากการพิมพ์สีที่สอง หรืออาจมีสีที่สาม สี่ ด้วยนี้จะเป็นภาพธรรมดา ที่มีการเน้นสีเป็นบางจุด เช่น หัวเรื่อง ภาพ กรอบ เส้นกราฟ เท่านั้น แต่มิใช่เป็นการพิมพ์ภาพ ให้เหมือน สีธรรมชาติจากภาพถ่าย ตัวอย่างสีที่ให้ความรู้สึกต่าง ๆ1. สีแดง แสดงความ รู้สึก เร่งร้อน รุนแรง แสดงถึงอันตราย 2. สีฟ้า น้ำเงิน แสดง ความ รู้สึก จริงจัง หนักแน่น สงบ 3. สีน้ำตาล แสดงความรู้สึก จริงจัง หนักแน่น และบ่งบอกความเก่าแก่ 4. สีเหลือง แสดงความรู้สึก สดใส กระตือรือร้น 5. สีเขียว แสดงความรู้สึก ร่มเย็น สดชื่น สบายตาการใช้สีในการพิมพ์ต้องคำนึงถึงสีของกระดาษด้วยเสมอ เพราะสีของกระดาษมีอิทธิพลต่อการมองเห็นสีหมึกที่ พิมพ์ลงไป3. การเลือกใช้สีสีทุกสีมีคุณสมบัติที่สำคัญ 3 ประการ คือ1. ฮิว ( hue ) ได้แก่ ชนิดของสีนั้น ๆ เช่น แดง ฟ้า เหลือง2. ค่าของสี ( value ) ได้แก่ ความเข้ม – อ่อนของสี3. ความสว่าง ( chroma ) ได้แก่ ระดับความสว่างหรือความมืดของสีนั้น ๆในการเลือกใช้สี มิใช่จะดูว่าเป็นสีอะไรเท่านั้น แต่ควรพิจารณาดูค่าความเข้ม – อ่อนของสีด้วย เช่น ถ้าจะใช้พิมพ์เป็น สีเขียว ก็ต้องเป็นเขียวอ่อน เพื่อให้สีอื่นที่จะพิมพ์ทับลงไปเด่นชัดขึ้น แต่ถ้าจะพิมพ์สีพื้นชนิดเป็นพื้นตายแล้วเจาะตัวขาว สีพื้นนั้นก็ต้องแก่หรือเข้มพอสมควร การเลือกใช้สีจึงต้องเปรียบเทียบสีกับสีอื่น ๆ ที่จะพิมพ์อยู่ด้วยเสมอ4. เทคนิคการใช้สีหลายสีโดยเสียค่าใช้จ่ายน้อยการพิมพ์หลายสีจะทำให้เสียค่าใช้จ่ายมากขึ้น แต่ก็ยังมีวิธีที่จะลดค่าใช้จ่ายลงได้โดยเทคนิคต่าง ๆ ดังนี้4.1 ถ้าไม่ใช่เป็นการพิมพ์ภาพสี่สีอาจเลือกใช้เปอร์เซ็นต์เม็ดสกรีนขนาดต่าง ๆ กัน โดยใช้พิมพ์ด้วยสีเดียว ก็จะได้สี ที่แก่อ่อนต่าง ๆ กันหลายสี โดยการพิมพ์เพิ่มเพียงหนึ่งสีหรืออาจพิมพ์เพิ่ม 2 สี แต่ได้ผลที่มองเห็นมากมายโดยการพิมพ์ 2 สีนั้นทับกันที่เปอร์เซ็นต์เม็ดสกรีนต่าง ๆ กัน เช่นฟ้า ( 100%) + เหลือง ( 100% ) จะได้ผลเป็น เขียวฟ้า ( 100% ) + เหลือง ( 80% ) จะได้ผลเป็น เขียวออกฟ้าฟ้า ( 50% ) + เหลือง ( 100% ) จะได้ผลเป็น เขียวออกเหลืองฟ้า ( 50%) + เหลือง ( 50% ) จะได้ผลเป็น เขียวอ่อนซึ่งสีต่าง ๆ ทั้งหมดตามด้วยตัวอย่างนี้จะพิมพ์เพียง 2 ครั้ง ใช้แม่พิมพ์เพียง 2 แผ่นเท่านั้น4.2 ในกรณีที่เป็นภาพสี่สีในหนังสือเล่มเดียวกัน หรือบทเดียวกัน หากสามารถรวมภาพสีเหล่านั้นไว้ในยกเดียวกัน ได้จะประหยัดค่าแม่พิมพ์ และค่าพิมพ์ไปได้มาก เพราะจะเสียเฉพาะค่าแยกสีเท่านั้น ส่วนค่าแม่พิมพ์และค่าพิมพ์ใช้ร่วมกัน ซึ่ง 2 ข้อนี้เป็นค่าใช้จ่ายหลักของการพิมพ์ภาพสี่สี4.3 เทคนิคการพิมพ์อีกชนิดหนึ่งที่ทำให้ภาพขาวดำสามารถพิมพ์ออกมาไดสวยงามขึ้นโดยไม่ต้องใช้การพิมพ์ ภาพ สี่สี คือ การนำภาพขาวดำมาพิมพ์โดยระบบ 2 สี ( duotone ) ซ้อนกัน ซึ่งทำได้โดยการทำฟิล์มเนกาตีฟ 2 ชิ้น ชิ้นที่ 1 เป็นการถ่ายฟิล์มแบบได้ผลปกติ อีกชิ้นหนึ่งทำให้เน้นเฉพาะส่วนที่เป็นเงาหรือบริเวณเข้มและบริเวณดำปานกลาง เมื่อนำมา ทำแม่พิมพ์และพิมพ์สีที่ 1 ด้วยสีดำและพิมพ์สีที่ 2 ด้วยหมึกอีกสีหนึ่งแล้ว จะทำให้เห็นภาพนั้นมีการเน้นเฉพาะส่วนที่เข้ม แต่ส่วนที่เป็นจุดสว่าง ( high light ) จะสว่างขึ้น ทำให้ภาพมีความลึกชัดมากขึ้น ซึ่งวิธีนี้จะเสียค่า ใช้จ่าย ไม่มากนัก แต่ ได้ผลดี

บทที่3.โปรแกรมสำหรับสิ่งพิมพ์
1.รูปแบบไฟล์กราฟิกกราฟิกสำหรับงานเว็บไซต์GIF (Graphic Interchange Format)รูปแบบไฟล์ GIF ได้รับการออกแบบโดย CompuServe ซึ่งเป็นระบบเครือข่ายข่าวสารแบบออนไลน์ เพื่อให้ บริการแลกเปลี่ยนกราฟิกในรูปแบบ bitmap ที่มีการจัดการทางด้านหน่วยความจำที่มีประสิทธิภาพ ข้อจำกัดของภาพแบบ GIF คือ ความสามารถทางด้านสีซึ่งเป็นแผงสีแบบอินเด็กซ์ (ภาพสีแบบ 24 บิตไม่สามารถใช้ได้) แผงสีสามารถบรรจุได้ 2 ถึง 256 สี ซึ่งถูกสร้างจากข้อมูลสี 24 บิต ไฟล์แบบ GIF ถูกบีบขนาดโดยใช้การบีบขนาด LZW แบบประยุกต์ การขยายไฟล์ข้อมูลแบบ GIF กลับคืน จะช้ากว่าการบีบขนาดแบบ RLE แต่จะเปลืองเนื้อที่หน่วยความจำน้อยกว่ารูปแบบไฟล์ GIF เป็นภาพซึ่งใช้สีจำกัด (ไม่เกิน 256 สี ไม่ใช้ทั้งหมดของสเปกตรัมสีที่แสดงได้บนมอนิเตอร์) เหมาะสำหรับภาพที่ต้องการไฟล์ขนาดเล็ก โหลดเร็ว ไฟล์แบบนี้จึงเหมาะกับงานที่ใช้สีแบบ solid color เช่น โลโก้ หรือ ภาพแบบ IllustrationGraphic Interchange Format นามสกุลที่ใช้เก็บ GIF ระบบปฏิบัติการ Windows, Windows NT เวอร์ชันที่ได้รับการพัฒนาจนถึงปัจจุบัน 87a และ 89a ซอฟต์แวร์ที่สร้าง และเปิดไฟล์ โปรแกรมการแก้ไข bitmap ทุกโปรแกรม , โปรแกรม Desktop Publishing เช่น PhotoShop, CorelDRAW, PaintShop Pro, ACDSee 32 ความสามารถทางด้านสี แผงสีแบบอินเด็กซ์ถึง 256 สี (วาดจากสี RGB แบบ 24 บิต) การบีบขนาดข้อมูล LZW การใส่รหัสแบบ run-length2.กราฟิกสำหรับการพิมพ์TIFF (Tagged Image File Format)TIFF เป็นไฟล์ที่ใช้ได้กับ bitmap เท่านั้น พัฒนาขึ้นโดยความร่วมของ Aldus Corporation และ Microsoft TIFF เก็บบันทึกข้อมูลรูปภาพได้หลากหลายใน Tagged Field จึงกลายเป็นชื่อเรียกของรูปแบบไฟล์ ซึ่งแต่ละ Tagged Field สามารถบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับ bitmap หรือชี้ไปยัง Field อื่นได้ ซอฟต์แวร์ที่อ่านไฟล์นี้ สามารถข้ามการอ่าน Field ที่ไม่เข้าใจหรือไม่จำเป็นไปได้TIFF เป็นรูปแบบที่มีความยืดหยุ่น สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ เนื่องจากมี Tagged Field ให้ใช้ต่างกันหลายร้อยชนิด ไฟล์แบบนี้จึงมีข้อดี คือ ใช้ได้กับโปรแกรมกราฟิกทุกประเภท สามารถใช้ได้ในระบบ คอมพิวเตอร์หลายๆ ระบบ และกำหนดขอบเขตที่กว้างขวางของภาพ bitmap ได้ นอกจากนี้ TIFF ยังสามารถ ทำบางสิ่งที่ bitmap อื่นทำไม่ได้ และเป็นรูปแบบที่สนับสนุนทั้งระบบ PC และ MacintoshTagged Image File Format นามสกุลที่ใช้เก็บ TIF ระบบปฏิบัติการ Windows, UNIX, Mac Windows เวอร์ชันที่ได้รับการพัฒนาจนถึงปัจจุบัน 5.0 และ 6.0 ซอฟต์แวร์ที่สร้างและเปิดไฟล์ โปรแกรมแก้ไข Bitmap และโปรแกรม Desktop Publishing เช่น PageMaker, QuarkXPress, CorelVentura, PhotoShop, PaintShop Pro ความสามารถทางด้านสี ขาวดำ 1 บิต , Grayscale (4,8, 16 บิต) , แผงสี (ได้ถึง 16 บิต) , สี RGB ( ได้ถึง 48 บิต) , สี CMYK ( ได้ถึง 32 บิต) การบีบขนาดข้อมูล LZW, PackBits (Macintosh), JPEG (TIFF v 6.0), RLE หลายรูปแบบ3.โปรแกรม Adobe Illustratorสิ่งที่อยากแนะนำเป็นเรื่องแรกก็อยากจะแนะนำเครื่องมือของโปรแกรมซึ่งถ้า ใช้ไปบ่อยๆก็จะสามารถจำได้โดยที่ไม่ต้องมานั่งจดนั่งจำครับSelection tool เครื่องมือกลุ่มนี้ว่าด้วยเรื่องการเลือกวัตถุ ประกอบไปด้วยCreate tool เครื่องมือกลุ่มนี้ว่าด้วยการสร้าง objects ไม่ว่าจะเป็นเส้น รูปทรงต่างๆ และตัวหนังสือTransform tool เครื่องมือกลุ่มนี้ใช้ในการปรับแต่งรูปทรงของวัตถุ ไม่ว่าจะเป็นหมุน เอียง บิด กลับด้าน ย่อ ขยาย นอกจากนี้ยังมีเอฟเฟคต่างๆด้วยSpecial tool เป็นเครื่องมือใหม่ที่จัดการเกี่ยวกะ Symbol และ graphPaint color tool เป็นกลุ่มเครื่องมือที่ใช้จัดการเรื่องของสีView tool กลุ่มเครื่องมือกลุ่มนี้จะเน้นที่มุมมองเป็นหลัก4.โปรแกรม Adobe Photoshopโปรแกรม Adobe Photoshop เป็นโปรแกรมที่ใช้สร้างงานกราฟิคที่นิยมกันที่สุดในโปรแกรม ต่างๆโดย โปรแกรม ฯ สามารถสร้างงานกราฟฟิคออกมาได้หลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นสร้างแบบ อักษรลักษณะต่างๆ และอีกทั้ง ยังนิยมมาแต่งภาพอีกด้วย โปรแกรมนี้จะมี Plug - in ซึ่งช่วยสร้าง Effect ต่างๆ ทำให้ได้ชิ้นงานที่ไม่ซ้ำกัน และอีกทั้งยังสร้างความโดดเด่นให้กันงานอีกด้วยในบท เรียนจะเป็นการแนะนำโปรแกรมฯ อย่างคร่าวๆส่วนต่าง ๆ ของโปรแกรม Adobe Photoshop ส่วนต่างคร่าว ๆ ก็จะมี 4 ส่วนด้วยกันดังนี้ส่วนที่ 1.เรียกกันว่า Menu bar เป็นส่วนที่แสดงชื่อเมนูต่างๆ ของโปรแกรมก็จะประกอบด้วย File , Edit , Image , Layer , Select , Filter , View , Window , Help 1.File หมายถึง คำสั่งเกี่ยวกับการจัดเก็บและเรียกใช้ไฟล์รูปภาพต่างๆ 2.Edit หมายถึง คำสั่งเกี่ยวกับการแก้ไขลักษณะของรูปภาพและ Image ต่างๆ 3. Image หมายถึง คำสั่งการจัดการรูปภาพและ Image ต่างเช่น การเปลี่ยนสีและการเปลี่ยนขนาด 4. Layer หมายถึง ชั้นหรือลำดับของรูปภาพและวัตถุที่เราต้องการจะทำ Effects 5. Select เป็นคำสั่งการเลือกพื้นที่หรือส่วนต่างของรูปภาพและวัตถุในการที่จะเล่น Effects ต่างๆ 6. Filter เป็นคำสั่งการเล่น Effects ต่างๆสำหรับรูปภาพและวัตถุ 7. View เป็นคำสั่งเกี่ยวกับมุมมองของภาพและวัตถุในลักษณะต่างๆ เช่น การขยายภาพและย่อภาพให้ดูเล็ก 8. Window เป็นส่วนคำสั่งในการเลือกใช้อุปกรณ์เสริมต่างๆที่จำเป็นในการใช้สร้าง Effects ต่างๆ 9. Help เป็นคำสั่งเพื่อแนะนำเกี่ยวกับการใช้โปรแกรมฯและจะมีลายละเอียดของโปรแกรมอยู่ในนั้น5.โปรแกรม maker pagemaker1. Merge Text and Graphic storeed originally in spreadsheets or databaseสำหรับในโปรแกรม PageMaker 7.0 ได้มีคุณสมบัติที่เพิ่มขึ้นมา เพื่อรองรับการทำงานด้านการทำจดหมายเวียน หรือเอกสารเวียนที่เนื้อหาเหมือนกัน เพียงแต่เปลี่ยนชื่อผู้รับต่างกัน ซึ่งโดยปกติแล้วการทำจดหมายเวียน จะมีเฉพาะใน โปรแกรมเวิร์ดโพรเซสเซอร์เท่านั้น2. Create and view Adobe Portable Document Format (PDF) filesสำหรับคุณสมบัติอีกตัวหนึ่ง ที่ผู้ใช้งานด้านเรียงพิมพ์ต้องการมากอีกอย่างคือ โปรแกรม Adobe PageMaker 7.0 สามารถบันทึกไฟล์ไปเป็น PDF (Adobe Portable Document Format) ซึ่งโดยปกติจะมีโปรแกรมที่ สร้างไฟล์เป็น PDF ได้ไม่กี่โปรแกรมด้วยเหตุนี้เองโปรแกรม PageMaker เป็นโปรแกรมที่ได้ขึ้นชื่อว่า เป็นโปรแกรมการเรียงพิมพ์ที่ดีที่สุดโปรแกรม หนึ่ง จึงไม่มองข้ามคุณสมบัติตัวนี้ ( อันที่จริงน่าจะมีมาตั้งนานแล้ว หรือว่ากลัวจะมีปัญหาในเรื่องของลิขสิทธิ์กันอยู่ ก็ไม่รู้) และนอกจากที่จะสร้างเอกสารเป็นไฟล์ PDF ได้แล้ว ยังสามารถที่จะอ่านเอกสารที่เป็นไฟล์ PDF ได้ด้วย เช่นกัน ดังนั้น ผู้ที่ต้องการสร้างเอกสารเป็นไฟล์ PDF และต้องการเปิดไฟล์ PDF แล้วหล่ะก็คงจะถูกใจกันมาก เลยทีเดียว3. Easily place Adobe PDF files created with Adobe Photoshop 5.0, 6.0 or Adobe Illustrator 9.0 directly into PageMaker publicationsส่วนท่านที่มีไฟล์ PDF ที่สร้างจากโปรแกรม Adobe Photoshop 5.0, 6.0 และโปรแกรม Adobe Illustrator 9.0 หากต้องการนำมาเปิดในโปรแกรม Adobe PageMaker 7.0 บอกได้เลยว่า สบายมาก รูปแบบ PDF ที่เคยจัดไว้อย่างไรในโปรแกรม Adobe Photoshop 5.0, 6.0 และโปรแกรม Adobe Illustrator 9.0 เมื่อมาเปิดในโปรแกรม Adobe PageMaker 7.0 ก็จะมีหน้าตายังไงยังงั้น เรียกได้ว่า เหมือนการโคลนนิงเลยก็ว่าได้4. Save time by importing native Photoshop and Illustrator filesขณะที่ หากท่านที่ต้องการนำไฟล์จากโปรแกรม Adobe Photoshop และ Adobe Illustrator มาไว้ใน โปรแกรม PageMaker 7.0 ก็บอกได้เลยว่าง่ายๆ แค่ลากข้อมูลเข้ามาก็เป็นอันเสร็จพิธี โดยข้อมูลที่นำเข้ามาจะได้ รูปแบบที่เหมือนเดิมทุกอย่างไม่เปลี่ยนแปลง ทั้งรูปแบบและการจัดย่อหน้า เพราะอะไรเหรอครับ ก็เพราะว่าเป็น โปรแกรมของค่ายเดียวกัน โอกาสผิดเพี้ยนก็ไม่เกิดขึ้นนั่นเอง5. Use a converter utility to open Quark XPress 3.3-4.1 publication directly in PageMakerนอกจากนี้ โปรแกรม Adobe PageMaker 7.0 จะทำอะไรได้หลายอย่างแล้ว สิ่งหนึ่งที่ทาง Adobe ไม่มอง ข้ามไปก็คือ กลุ่มผู้ที่ใช้โปรแกรม Quark XPress3.3 - 4.1 หากต้องการนำมาเปิดในโปรแกรม Adobe PageMaker 7.0 ทางค่ายของ Adobe ก็ยินดีให้เข้ามาเปิดไฟล์ได้โดยโปรแกรมจะ Converter ข้อมูลให้ โปรแกรม Adobe PageMaker เปิดไฟล์ได้เลย
บทที่5.ธุรกิจสิ่งพิมพ์
1.ธุรกิจสิ่งพิมพ์
สื่อสิ่งพิมพ์เป็นธุรกิจประเภทหนึ่ง ยกเว้นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ออกโดยรัฐ หรือองค์การสาธารณกุศล หรือองค์การการเมือง บางประเภท ซึ่งออกสื่อสิ่งพิมพ์มาเพื่อเผยแพร่แนวนโยบาย ข่าวสาร ความรู้ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยไม่ขายหรือขาย ในราคาถูก ไม่หวังผลในด้านกำไร นอกจากต้องการที่จะเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารไปยังกลุ่มเป้าหมาย การจัดทำสื่อสิ่งพิมพ์ต้องใช้ทุนทรัพย์ ยิ่งเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือพิมพ์ด้วยแล้ว ยิ่งต้องใช้ทุนทรัพย์ในการ ลงทุนสูงมาก เช่น ลงทุนเกี่ยวกับเครื่องจักร ยานพาหนะ อาคาร สถานที่ การจ้างบุคลากร วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต เป็นต้น ดังนั้น ผู้ที่ลงทุนหากเป็นเอกชนจำเป็นต้องคำนึงถึงความอยู่รอดของการดำเนินงาน นั่นคือจะต้องมีรายได้ในเบื้องต้น และมีกำไร นอกจากนี้ยังต้องการที่จะให้บรรลุวัตถุประสงค์บางประการที่ได้ตั้งไว้ด้วย
2. บทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์
นักวิชาการหลายท่านได้ให้ทัศนะถึงบทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์ไว้ กล่าวคือ วัลลภ สวัสดิวัลลภ (2535, หน้า 82) กล่าวว่า “ บทบาทของหนังสือพิมพ์หมายถึงหน้าที่และความรับผิดชอบ ของหนังสือพิมพ์อันมีต่อสังคม หนังสือพิมพ์จึงต้องตระหนักและเข้าใจในภารกิจทั้งสองประการนี้โดยถูกต้องและถ่องแท้ ตลอดเวลา มิฉะนั้นก็ไขว้เขวผิดเพี้ยน ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ของหนังสือพิมพ์เพราะอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ สังคมส่วนรวมได้ ” วิชัย พยัคฆโส 1 (2542, หน้า 1) “ สื่อสิ่งพิมพ์มีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศเพราะสื่อสิ่งพิมพ์ได้ เสริมสร้างบทบาทพื้นบานด้านการศึกษา สังคม เศรษฐกิจ และการเมืองควบคู่กันไป บางครั้งมีผู้กล่าวว่า ความเจริญ ของประเทศใดอาจวัดได้จากปริมาณการบริโภคกระดาษของชนในชาตินั้นเป้นองค์ประกอบหนึ่ง สำหรับประเทศไทย เช่นเดียวกัน บทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์ได้มีบทบาทสูงยิ่งในการพัมนาประเทศมาจนปัจจุบันและในอนาคตต่อไปอย่างไม่มี ที่สิ้นสุด ประธานคณะมนตรีสหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์ นายกสมาคมส่งเสริมวิชาการพิมพ์ อดีตกรรมการผู้อำนวยการ บริษัท คัมปาย อิมเมจจิ้งจำกัด และผู้อำนวยการองค์การค้าคุรุสภา
3.แนวโน้มของสื่อสิ่งพิมพ์
ความเปลี่ยนในด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร นับเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งสำหรับวงการสื่อที่มีความเกี่ยวข้องกับข่าวและ ข่าวสาร ซึ่งแม้ดูเหมือนว่า ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้จะค่อยเป็นค่อยไป แต่ด้วยความแพร่หลายไปทั่วของเทคโนโลยี การสื่อสารหลากหลายชนิด เช่น คอมพิวเตอร์ ดาวเทียมเพื่อการสื่อสาร โครงข่ายโทรศัพท์ อุปกรณ์ภาพและเสียง ที่มีต่อ “ สื่อมวลชนแบบดั้งเดิม ” (traditional media) เช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ มีผลให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “ การปฏิวัติแห่งระบบตัวเลข ” (digital revolution) ทำให้ข้อมูลข่าวสารไม่ ว่าจะอยู่ในรูปลักษณ์ใด เช่น ข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหว รูปภาพ หรืองานกราฟิก ได้รับปรับเปลี่ยนให้เป็นภาษาอีก ชนิดหนึ่งเป็นรูปแบบเดียวกันทั้งหมด คือสามารถอ่านและส่งผ่านได้อย่างรวดเร็วด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วยังสามารถ นำเสนอในลักษณะใดก็ได้ ตามความต้องการใช้งานของผู้ใช้งาน ความเปลี่ยนแปลงนี้ถูกเรียกขานว่า “ การทำให้เป็น ระบบตัวเลข ” หรือ “ ดิจิไทเซชั่น ” (digitization) ด้วยระบบที่มีการทำให้เป็นระบบตัวเลขนี่เอง เป็นปัจจัยอันสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้เกิด “ สื่อใหม่ ” (New Media) เกิดขึ้น ซึ่งเป็นสื่อที่มีลักษณะเกี่ยวข้องกับระบบตัวเลข เครื่องคอมพิวเตอร์ และระบบการสะท้อนกลับ หรือ “ อินเตอร์แอคทีฟ ” (interactive) คาดว่าสื่อใหม่จะสามารถตอบสนองความต้องการของ “ ผู้แสวงหาข่าวสาร ” (seeker) ได้มีประสิทธิภาพมากกว่าสื่อมวลชนแบบดั้งเดิม เนื่องจากสื่อใหม่ไม่มีข้อจำกัดในด้านเวลา (time) และเนื้อที่ (space) เหมือนอย่างเคยเป็นข้อจำกัดของสื่อมวลชนแบบดั้งเดิมมาก่อน ตัวอย่างข้อจำกัดของสื่อมวลชนแบบดั้งเดิมประเภทหนังสือพิมพ์และนิตยสาร คือ เนื้อที่มีจำกัดสำหรับข่าว ข้อมูลข่าวสาร และการโฆษณา เช่นเดียวกันกับข้อจำกัดในด้านเวลาออกอากาศของวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ อย่างไรก็ตาม สื่อใหม่ก็มีข้อจำกัดตรงที่ไม่ได้เป็นการตีพิมพ์ข้อมูลข่าวสารลงบนกระดาษ รวมทั้งไม่ได้เป็นการออก อากาศรายการวิทยุแลโทรทัศน์ไปยังผู้คนจำนวนมากมายในเวลาที่แน่นอน แต่ข้อมูลข่าวสารได้ถูกบันทึกไว้ในระบบตัวเลข จำนวนมากจะสามารถตอบสนองผู้แสวงหาข้อมูลข่าวสารได้ ก็ต่อเมื่อพวกเขามีความต้องการสื่อใหม่แล้วหาได้จากหน้าจอ ของเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น ( ในอนาคตอันใกล้นี้ อาจพัฒนามาเป็นการนำเสนอผ่านทางหน้าจอเครื่องรับโทรทัศน์ได้ เช่นเดียวกัน ) อาจกล่าวได้ว่า ขณะที่สื่อมวลชนแบบดั้งเดิมส่งข้อมูลข่าวสารให้กับผู้รับในลักษณะที่เป็น “passive receivers” แต่ผู้รับสารของสื่อใหม่เป็นผู้รับสารที่มีลักษณะ “active seeker” คือเป็นฝ่ายแสวงหาข้อมูลข่าวสารด้วยตนเอง ตามความสนใจและความสงสัยอยากรู้อยากเห็นของตัวเองโดยอิสระเสรี ดังนั้น ข้อมูลข่าวสารใดๆ ที่ไม่สามารถหาได้จาก สื่อมวลชนแบบดั้งเดิม เช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ ก็สามารถหาได้จากสื่อใหม่นี้ ได้โดยไม่มีขีดจำกัด
4.อะไรคือสื่อใหม่
สิ่งที่เราเรียกว่าเป็น “ สื่อใหม่ ” หมายถึง ระบบการสื่อสารหรือเชื่อมต่อทางอิเล็กทรอนิกส์ของเครือข่ายในระดับโลก ได้แก่ เครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Internet) บริการระบบเวิลด์ไวด์เวบ (World Wide Web : WWW) บริการข้อมูล ออนไลน์เชิงพาณิชย์ (Commercial on-line service) เป็นต้น สื่อใหม่เปิดโอกาสให้องค์กรด้านข่าวสารแบบดั้งเดิม ธุรกิจขนาดใหญ่และขนาดย่อม องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร องค์กรภาคเอกชน นักเรียน นักศึกษา นักวิชาการ กลุ่มผู้สนใจเฉพาะ และชุมชนทุกประเภททุกระดับจากทั่วโลก สามารถเป็น “ ผู้ส่งสาร ” ( ข่าวและข้อมูลข่าวสาร ) ให้แก่ผู้รับสารทั่วโลก ที่มีจำนวนมากจนไม่อาจคาดคะเนจำนวนได้ (virtually worldwide audience) คำว่า “ สื่อใหม่ ” (New Media) เป็นการจุดประกายมุมมองใหม่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับข้อมูล ข่าวสาร ซึ่งบทบาทของสื่อใหม่อาจทำให้ ให้ความสัมพันธ์เดิมเปลี่ยนแปลงไปในขณะนี้บางสิ่งบางอย่างเกิดการ เปลี่ยนแปลงขึ้นแล้ว แม้สื่อใหม่นี้ไม่ได้ลดความสำคัญ (abandoning) หรือเข้ามาแทนที่ (replacing) รูปแบบดั้งเดิมของสื่อ แต่เป็นไปได้ว่าสื่อใหม่จะช่วยขยายศักยภาพและประสิทธิภาพให้กับสื่อดั้งเดิมเท่าที่จะเป็นไปได้ 5.ปัจจัยสู่ยุคสื่อใหม่
ปัจจัยสำคัญ 10 ประการนี้เป็นบทเริ่มต้นเกี่ยวกับสื่อใหม่ ที่ยังมีความจำเป็นที่จะต้องมีการศึกษาวิจัย การอภิปราย ในแต่ละประเด็นให้กว้างขวางออกไป ซึ่งได้แก่
1. สู่ยุคตัวเลขเต็มรูปแบบ (It's all Digital !) การเพิ่มขึ้นของข้อมูลข่าวสารในระบบตัวเลขทั้งข้อความ ข้อมูลเสียง ภาพเคลื่อนไหว ภาพนิ่ง และภาพกราฟิก
2. คอมพิวเตอร์แพร่หลายไปทุกบ้าน (A computer in every home) การขยายตัวของผู้ใช้งาน และ ประสิทธิภาพ ที่สูงยิ่งขึ้นของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือพีซี (Personal Computer : PC)
3. คอมพิวเตอร์คือเพื่อนสนิทของคุณ (Computer are your friends) การพัฒนาที่เน้นระบบการใช้งาน ที่ง่ายยิ่งขึ้น และขนาดของเครื่องฮาร์ดแวร์ที่กะทัดรัดยิ่งขึ้นทำให้คอมพิวเตอร์เปรียบเสมือนเพื่อนสนิทของคุณ
4.เข้าสู่โลกของเครือข่ายกันเถอะ (Let's network) การพัฒนาของระบบซอฟต์แวร์ ( โปรแกรมสำหรับใช้งาน คอมพิวเตอร์ ) และฮาร์ดแวร์ ( ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ) ที่ใช้งานในระบบเครือข่ายเป็นปัจจัยกระตุ้นสื่อใหม่
5. ประธานาธิบดีบอกว่า “ ต้องโยงใย ” (The PRES say, Get Wired) ตัวอย่างของการสนับสนุน ขององค์กร ภาครัฐในประเทศสหรัฐอเมริกา ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศของโลก (Global Information Infrastructure :GII) ที่สามารถ ติดต่อสื่อสารกันได้โดยทั่วถึง รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงข้อกฏหมายที่ขัดขวางการ พัฒนาด้าเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม
6. โตแล้วก็โตอีก (The gig keep getting bigger) นโยบายเปิดเสรีในอุตสาหกรรมสื่อและอุตสาหกรรม การสื่อสารโทรคมนาคมเป็นเหตุให้เกิดสื่อใหม่ขึ้น
7. ไปพบบรรจบกันที่สื่อใหม่ (Can you say ubiquitous ?) การพัฒนาเข้าใกล้กันของเทคโนโลยีก็เป็น ปัจจัยของสื่อใหม่ คำอธิบายลักษณะของสื่อใหม่ได้ดีที่สุดอีกคำหนึ่ง คือ การบรรจบกันของเทคโนโลยี (convergence)
8. เหมือนตีเทนนิสทะลุเส้นฟาง (Forcing a tennis ball through a straw) ศักยภาพของ “ แบนด์วิธ ” (bandwidth) ที่เพิ่มยิ่งขึ้น และความก้าวหน้าของเทคโนโลยี “ การบีบอัดข้อมูล ” (compression technologies) ทำให้ปัญหาขาดแคลน ช่องส่งสัญญาณหมดไป
9. แสนจะรื่นเริงบันเทิงใจ (The more The Merrier) ความแพร่หลายของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ในหลายๆ องค์กรที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันรอบๆ ตัวเรา ได้แก่ ด่านการศึกษา ( รวมถึงงานบริการของห้องสมุด ) หน่วยงานภาคธุรกิจเอกชน หน่วยงานภาครัฐบาล หน่วยงานที่ให้บริการแก่ประชาชน
10. มีใครต้องการสิ่งนี้บ้างไหม ? (Does anybody want this stuff ?) ความต้องการด้านข่าว ข้อมูลข่าวสาร และความบันเทิงที่จะเพิ่มมากขึ้นก็เป็นปัจจัยสำคัญของสื่อใหม่
6.ความเปลี่ยนแปลงของสื่อสิ่งพิมพ์
ตารางเปรียบเทียบสื่อมวลชนแบบดั้งเดิมกับสื่อใหม่ สื่อมวลชนแบบดั้งเดิม(TRADITIONAL Mass Media) สื่อใหม่ (New Media) เน้นตอบสนองชุมชนชัด (Geographically Constrained) ถูกผลักดันให้ตอบสนอง ต่อความต้องการของตลาด การหาส่วนแบ่งตลาดจาดผู้รับสารในท้องถิ่น ไม่สนใกล้ไกล (Distance Insensitive) ถูกผลักดันให้ตอบสนองความต้องการ ,ความสนใจ , ไม่สนใจความใกล้ไกลของผู้ใช้งาน , จำเพาะเจาะจงหัวข้อ องค์กรหลายระดับชั้น (Heriarchincal) ข่าวสารข้อมูลผ่านระดับชั้นแนวตั้งของผู้เฝ้าประตูข่าวสารและคัดเลือกข่าวโดยมืออาชีพ กระจายแนวราบ (Flattened) ข่าวสารข้อมูลมีศักยภาพที่จะแพร่กระจายแนวราบ , โดยไม่ใช่มืออาชีพไปยังกลุ่ม ลักษณะคล้ายกัน มุ่งทิศทางเดียว (Undirectional) การแพร่กระจายของข่าวสารข้อมูลเป็นแบบทางเดียว , มีผลสะท้อนกลับชัดเจน เชิงปฏิสัมพันธ์ (Interactive) ผลสะท้อนกลับ ทันทีทันใด ไม่มีการตรวจสอบแก้ไข , การอภิปรายโต้แย้งมีมากกว่าการตรวจแก้ และแสดงความคิดเห็น ข้อจำกัดด้านพื้นที่ / เวลา (Space/Time Constrained) หนังสือพิมพ์ จำนวนพื้นที่ วิทยุ - ทีวี จำกัดด้วยเวลา ไร้ขีดจำกัดพื้นที่และเวลา (Less Space/Time Constrained)ข่าวสารข้อมูลอยู่ในรูปดิจิตอล , ระบบไฮเปอร์เท็กซ์ให้ข้อมูลไม่จำกัด นำเสนอโดยนักสื่อสารมวลชน (Professional Communicators)นักวารสารศาสตร์ ผู้สื่อข่าวผู้เชี่ยวชาญ ได้คุณภาพตรงกับงานสื่อสารมวลชนแบบเดิม นำเสนอโดยมือสมัครเล่น (Amateur/Non-professional)ใครก็ได้มีทรัพยากรที่จำเป็นพรอมก็เสนอผลงานบนเวบได้ รวมทั้งมือสมัครเล่น 7.การปรับตัวของนักสื่อสารมวลชน
คำถามต่อไปนี้เป็น “ เครื่องมือ ” ที่น่าจะเป้นการเปิดประเก็นหัวข้อให้ได้นำไปขบคิดและศึกษาวิจัยกันอีกได้ไม่น้อย โดยยังสามารถเป้นกรอบการคิดเชิงวิพากษ์เกี่ยวกับผลกระทบและผลที่จะตามมาจากสื่อใหม่ ซึ่งครอบคลุมในหลายประเด็น ได้แก่ วิชาชีพสื่อสารมวลชน การสร้างสรรค์ชุมชน จริยธรรม และเศรษฐศาสตร์ ซึ่งการเพียรตั้งคำถามและ หาคำตอบต่อประเด็นเหล่านี้เป้นหนทางนำไปสู่ความเข้าใจในสื่อใหม่อย่างลึกซึ้ง (new media literacy)
8.ธุรกิจสกีนของคนไทยที่ครบวงจร
เทคโนโลยีการตัด Die-Cut (1) : ประเภทของแม่พิมพ์ วารสารการพิมพ์บรรจุภัณฑ์ การทำอัดตัดตามแม่แบบ เราเรียกทับศัพท์กันทั่วไปว่า “ การทำดายคัท (Die-cut)” เป็นขั้นตอนของการผลิต บรรจุภัณฑ์ทั้งหลาย จุดประสงค์ก็เพื่อให้ได้รูปทรงตามแบบที่ต้องการ ตัวอย่างงานที่ต้องใช้เทคโนโลยีดังกล่าวได้แก่ กล่องพับ กล่องลูกฟูก กล่องพลาสติก และฉลากต่างๆ เป็นต้น การทำงานจะมีอุปกรณ์ส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ใบมีดสำหรับฉลุ แม่พิมพ์สำหรับการตัดตามรอย รวมถึงฐานรองตัดซึ่งทำจากวัสดุหลายประเภท อย่างเช่นไม้เนื้อแข็ง เหล็ก PVC หรือวัสดุผสมอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีชิ้นยางที่เอาไว้สำหรับติดข้างใบมีดเพื่อช่วยยกชิ้นงานขึ้น เรื่องที่เราจะ นำเสนอวันนี้ขอนำเรื่องแม่พิมพ์อัดมานำเสนอก่อน ในส่วนของแม่พิมพ์นั้น ก็มีใช้กันหลายประเภท โดยแบ่งตามประเภท ของงานและความคุ้มค่าในการใช้งานของผู้สั่งทำ 1. แม่พิมพ์อัดตัดสำหรับกล่องลูกฟูก แม่พิมพ์ประเภทนี้มีรูปทรงอยู่ 2 แบบ เพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะงานที่ทำกับเครื่องจักร คือแบบราบและแบบโรตารี่ 1.1 แม่พิมพ์อัดตัดแบบราบ ( flat cuuting die) การทำจะเริ่มจากการฉลุฐาน ซึ่งส่วนใหญ่ นิยมใช้แผ่นไม้ ด้วยใบเลื่อย หรือ ลำเลเซอร์ แล้วจึงทำการฝังใบมีดลงในรอยที่ฉลุนั้น ข้อดีคือทำได้ง่าย เป็นที่นิยมทั่วไป ข้อเสียที่พบคือมีข้อจำกัดในเรื่องขนาดของแม่พิมพ์ ก็คือได้ไม่เกิน 1,100x1,600 ตร.มม. เนื่องจากตัวแม่พิมพ์ต้างใช้แรงกดสูง ทำให้ไม่สามารถอัดตัดแผ่นไม้ในขนาดที่ใหญ่กว่านี้ได้ ( ซ้าย)ข้อดีของแม่พิมพ์ไม้คือวัสดุหาไม่ยากอีกทั้งยังสะดวกในการทำงานมาก 1.2 แม่พิมพ์อัดตัดแบบโรตารี่ ( rotary cutting die) ลักษณะของฐานจะโค้งตามโมยึด ขนาดหน้ากว้างขึ้นกับ ขนาดของเครื่อง ส่วนตัวแม่พิมพ์จะคล้ายกับแบบราบ ชนิดนี้เหมาะกับงานจำนวนมาก หรืองานที่มีขนาดใหญ่ เช่นกล่องใส่ทีวีหรือตู้เย็นเพราะทำงานได้รวดเร็ว ข้อเสียต้นทุนที่แพง รวมถึงความผิดพลาดที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้สูง 2. แม่พิมพ์อัดตัดสำหรับกล่องพับ ลักษณะแม่พิมพ์นี้ส่วนใหญ่ผู้ประกอบการจะใช้แบบราบ ตามการออกแบบเครื่องจักร และยังแบ่งออกตามวัสด ุที่ใช้ทำฐานอีกด้วย
2.1 แม่พิมพ์อัดตัดฐานไม้ ( plywood cutting die) ลักษณะการทำงานเหมือนกับการทำแม่พิมพ์อัดกล่องลูกฟูก ข้อดีคือสามารถทำได้ง่ายและ สะดวกกว่าวิธีอื่นๆ
2.2 แม่พิมพ์อัดตัดฐานพลาสติกผสม วัสดุพลาสติกคิดค้นขึ้นด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงที่มีคุณสมบัติพิเศษ คือสามารถใช้แรงดันน้ำ (water jet) ทำการฉลุแทนลำแสงเลเซอร์หรือใบเลื่อยได้ ทนทานแรงอัดได้ดี เหมาะสำหรับงานที่พิมพ์จำนวนมากๆ และงานพิมพ์ซ้ำ เพราะแม่พิมพ์มีการยืดหดตัวน้อย
2.3 แม่พิมพ์อัดตัดฐานเหล็ก/เรซิน ( sandwich cutting die) วิธีการทำแม่พิมพ์ก็คือ การนำแผ่นเหล็กบาง 2 แผ่นทำการฉลุด้วยแสงเลเซอร์ หรือเทคโนโลยีแรงดันน้ำ จากนั้นนำมายึดให้ ห่างจากกันเท่ากับความหนาของแม่พิมพ์ทั่วไป แล้วทำการฝังใบมีดพร้อมกบัเสริมด้วยการ สอดไส้เรซินอิพอกซี ( epoxy) แม่พิมพ์ชนิดนี้มีข้อดีตรงความแม่นยำสูง ทนกับสภาพอากาศ ข้อเสียคือราคาที่แพง ( ซ้าย) ไม่มีชุดยางพวกนี้งาน Die-cut ก็ทำสำเร็จไม่ได้เหมือนกัน 3. แม่พิมพ์อัดตัดสำหรับฉลาก เนื่องจากงานสิ่งพิมพ์ประเภทนี้ต้องการความละเอียดแม่นยำสูง ฐานแม่พิมพ์จะต้องทำจากวัสดุที่การยืดหดตัวน้อยที่สุด เช่น PVC เบเกไลท์ ( Bekelite) และเหล็ก เป็นต้น ลักษณะแม่พิมพ์มี 2 แบบ คือแบบราบ และโรตารี โดยแบบโรตารีจะเป็นแผ่นเหล็กบางสามารถนำไปพันรอบโมยึดได้และมีแรงแม่เหล็กด้วยยึดให้แน่นขึ้น
9.ธุรกิจการพิมพ์และสื่อออนไลน์การผสานอนาคต
กระดาษยังเป็นตัวแทนของความรู้สึก วอลเตอร์ เบนเดอร์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยสื่อของสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตต์ ( MIT) ได้ให้ความความเห็นว่า "กระดาษยังเป็นตัวแทนของการสื่อสาร" ในอนาคตแม้ว่าจะมีการใช้เทคโนโลยีทางการสื่อสารที่หลากหลายมากขึ้น แต่สุดท้ายสิ่งที่ผู้รับสารต้องการอ่านรายละเอียดทั้งหมด ก็จะต้องพิมพ์ข้อมูลเก็บลงกระดาษอยู่ดี นายวอลเตอร์ให้ความเห็น ในอนาคตการพิมพ์จะกลายเป็นการพิมพ์แบบส่วนบุคคลมากขึ้น ก็คือสื่อสิ่งพิมพ์จะกลายเป็นการพิมพ์ขึ้นตามความสนใจ ของแต่ละบุคคล แทนที่จะเป็นการพิมพ์ในจำนวนมาก ๆ เพื่อการค้าเช่นปัจจุบัน ต่อไปผู้บริโภคจะกลายเป็นผู้ผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ ตามที่ตนต้องการเอง ฮาราลด์ ไนด์ฮาร์ด CEO Cardrnine.com ได้เสริมความเห็นที่ว่า ผู้บริโภคจะใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อค้นหาข้อมูลสั้น ๆ และสามารถรับรู้ตอบโต้ได้ทันที เมื่อสนใจรายละเอียดก็จะพิมพ์ข้อมูลเก็บลงกระดาษ